วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ใบกะเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linn.
ชื่อท้องถิ่น
กะเพราขาว กะเพราแดง (กลาง) กอมก้อ (เหนือ)
ลักษณะของพืช
เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก โคนต้นที่แก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ยอดเป็นไม้เนื้ออ่อนลำต้นและใบมีขนอ่อน ใบมีกลิ่นหอมฉุน รูปร่างรี ปลายใบและโคนใบแหลมหรือมนเล็กน้อย ขอบใบหยัก ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยออกรอบแกนกลางเป็นชั้น ๆ กะเพราเป็นผักสวนครัวอยู่ทั่วไป มีกะเพราขาวและกะเพราแดง กะเพราขาวมีส่วนต่าง ๆ เป็นสีเขียว ส่วนกะเพราแดงจะมีส่วนต่าง ๆ เป็นสีเขียวอมม่วงแดง ปลูกโดยใช้กิ่งชำหรือใช้เมล็ด ปลูกได้โดยทั่วไป
คุณค่าด้านอาหาร
กะเพราแดงเป็นผักที่มีวิตามินเอ และฟอสฟอรัสค่อนข้างมาก ใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ทำให้ร้อนและขับลมได้ดี ใบกะเพราใช้ใส่แกงป่า ผัดเผ็ดใส่ใบกะเพรา ผัดเผ็ดนก ผัด
ขี้เมา และนำไปแต่งสีและกลิ่นอาหารให้ชวนทานได้อีกด้วย
ส่วนที่ใช้เป็นยา
ใบแห้งหรือสด
รสและสรรพคุณยาไทย
รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง ใช้แต่งกลิ่นแต่งรส
ประโยชน์ทางยา
ใบกะเพรา มีน้ำมันหอมระเหย (Volatie oil) เป็นจำนวนมาก ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดและปวดท้อง โดยใช้ใบและยอดกะเพรา 1 กำมือ (ถ้าสด
หนัก 25 กรัม แห้งหนัก 4 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะสำหรับเด็กท้องอืด หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ท้องอืดก็ได้
จำนวนยาและวิธีใช้เดียวกันนี้ ใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ

เขียนโดย นาง อรพรรณ บุญสังข์
ที่มา : www.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น